งานวันที่24-28มกราคม2554


งานวันที่24-28มกราคม2554






ตอบข้อที่1
อธิบายความเร่ง (อังกฤษ: acceleration, สัญลักษณ์: a) คือ อัตราการเปลี่ยนแปลง (หรืออนุพันธ์เวลา) ของความเร็ว เป็นปริมาณเวกเตอร์ที่มีหน่วยเป็น ความยาว/เวลา² ในหน่วยเอสไอกำหนดให้หน่วยเป็น เมตร/วินาที²

ความเร็ว คือ อัตราการเปลี่ยนแปลงของตำแหน่งต่อหน่วยเวลา ความเร็วเป็นปริมาณเวกเตอร์ ซึ่งจะต้องมีทั้งอัตราเร็วและทิศทาง ในระบบ SI ความเร็วจะมีหน่วยเป็นเมตรต่อวินาที (m/s) ปริมาณสเกลาร์ของความเร็ว คือ อัตราเร็ว ตัวอย่าง "5 เมตรต่อวินาที" 5 m/s เป็น อัตราเร็ว ในขณะที่ "5 เมตรต่อวินาทีไปทางทิศตะวันตก" หรือ 5 m/s ไปทางตะวันตก เป็นเวกเตอร์

ที่มา http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=750a7f4000d9c21f&pli=1



ตอบข้อ3
อธิบาย
อัตราเร็ว (สัญลักษณ์: v) คืออัตราของ การเคลื่อนที่ หรือ อัตราการเปลี่ยนแปลงของตำแหน่งก็ได้ หลายครั้งมักเขียนในรูป ระยะทาง d ที่เคลื่อนที่ไปต่อ หน่วย ของ เวลา t
อัตราเร็ว เป็นปริมาณสเกลาร์ที่มีมิติเป็นระยะทาง/เวลา ปริมาณเวกเตอร์ที่เทียบเท่ากับอัตราเร็วคือความเร็ว อัตราเร็ววัดในหน่วยเชิงกายภาพเดียวกับความเร็ว แต่อัตราเร็วไม่มีองค์ประกอบของทิศทางแบบที่ความเร็วมี อัตราเร็วจึงเป็นองค์ประกอบส่วนที่เป็นขนาดของความเร็ว
ในรูปสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ อัตราเร็วคือ
v = \frac {d}{t}
หน่วยของอัตราเร็ว ได้แก่
มัค 1 ≈ 343 m/s ≈ 1235 km/h ≈ 768 mi/h (ดู อัตราเร็วเสียง สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม)
c = 299,792,458 m/s
  • การเปลี่ยนหน่วยที่สำคัญ
1 m/s = 3.6 km/h
1 mph = 1.609 km/h
1 knot = 1.852 km/h = 0.514 m/s
ยานพาหนะต่าง ๆ มักมี speedometer สำหรับวัดอัตราเร็ว
วัตถุที่เคลื่อนที่ไปตามแนวราบ พร้อม ๆ กับแนวดิ่ง (เช่น อากาศยาน) จะแยกประเภทเป็น forward speed กับ climbing speed

ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B9%87%E0%B8%A7


ตอบข้อ4
อธิบาย
เป็นการเคลื่อนที่ในแนวโค้งรูปพาราโบลา  อันเนื่องมา  จากวัตถุมีความเร็วพร้อมกัน 2 แนว   คือ ความเร็วในแนวระดับ     ซึ่งมีค่าคงตัว  และความเร็วในแนวดิ่ง   ซึ่งเป็นการเคลื่อนที่ภายใต้แรงดึงดูดของโลก  มีความเร่งคงที่เท่ากับ g
ในแนวแกนนอน (X) ใช้สูตร
sx = vxt
 การเคลื่อนที่ในแนวนี้ความเร่งเป็น 0 หรือมี  ความเร็วคงที่ ux=vx
แนวดิ่ง (แกน Y) เลือกใช้ 4 สูตร ดังต่อไปนี้
1  
2   
3   
4   
การเคลื่อนที่ในแนวนี้จะคิดความเร่งเป็นค่าg ที่จุดสูงสุดความเร็วในแนวนี้  เป็น 0
  • รูปแบบที่ 1 วัตถุเคลื่อนที่ออกไปในแนวระดับ
  • จากรูป ที่ควรทราบ มีดังนี้

  • เมื่อพิจารณาค่าทางแกน y จากจุดเริ่มต้นถึงพื้น
1.      uy=0
2.      ay= +g
3.      Sy= +h
  • เมื่อพิจารณาค่างทางแกน x จากจุดเริ่มต้นถึงพื้น
1.      ux=+u
2.      Sx=+R
3.      t เป็นค่าเดียวกันกับ t ที่คิดได้จากแกน y
  • รูปแบบที่ 2 วัตถุเคลื่อนที่ออกทำมุมก้ม  กับแนวระดับ
               ux  =  +ucos
                         uy =  +usin  
                          Sy=  +h
                         a  =  +g
  • รูปบบที่ 3 วัตถุเคลื่อนที่ออกทำมุมเงย   กับแนวระดับ
                        
คิดจากจุด A ถึงจุด C ให้แทนค่าต่างๆ เป็นดังนี้
ux =  +ucos  
uy =  +usin  
Sy =  -h
a  =  -g
traffic_ussign19.gif


  • วงกลม
  • การเคลื่อนที่แบบวงกลมด้วยอัตราเร็วคงที่
    1.
    คาบ (Period) "T" คือ เวลาที่วัตถุเคลื่อนที่ครบ 1 รอบ หน่วยเป็นวินาที่/รอบ หรือวินาที
    2.
    ความถี่ (Frequency) "f" คือ จำนวนรอบที่วัตถุเคลื่อนที่ได้ภายในเวลา 1 วินาที หน่วยเป็นรอบ/วินาที หรือ เฮิรตซ์ (Hz)
  • เมื่อวัตถุเคลื่อนที่แบบวงกลมด้วยอัตราเร็วคงที่ คาบ และความถี่จะมีค่าคงที่ โดยคาบและความถี่สัมพันธ์กัน
  • จาก   v  =    แต่  t =T(คาบ)
  • เมื่อครบ 1 รอบ  เส้นรอบวง  S = 2 r
  •   ดังนั้น  v  =  2 r f
  •       หรือ  v =
  • วัตถุที่เคลื่อนที่เป็นวงกลมจะเกิดความเร่ง 2 แนว คือ ความเร็วแนวเส้นสัมผัสวงกลม และความเร่งแนวรัศมี    หรือความเร่งสู่ศูนย ์กลาง
  •           ถ้าวัตถุเคลื่อนที่ด้วยอัตราเร็วคงที่ เช่น วงกลมในแนวระนาบ
  • จะเกิดความเร่งสู่ศูนย์กลางเพียงแนวเดียว
              
    การที่วัตถุมีอัตราเร็วเท่าเดิม แต่ทิศทางเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ย่อมหมายความว่า ต้องมีความเร็วอื่นมาเกี่ยวข้องด้วย ความเร็วที่มาเกี่ยวข้องนี้จะพิสูจน์ได้ว่า มีทิศทางเข้าสู่จุดศูนย์กลางของการเคลื่อนที่ และความเร็วนี้เมื่อเทียบกับเวลาจะเป็นความเร่งซึ่งมีค่า        
  •        จากกฎการเคลื่อนที่ข้อที่สองของนิวตัน และการเคลื่อนที่แบบวงกลม แรงลัพธ์ที่มากระทำต่อวัตถุกับความเร่งของวัตถุจะมีทิศทางเดียวกัน คือทิศพุ่งเข้าหาจุดศูนย์กลาง ซึ่งเขียนเป็นสมการได้ว่า
  •       อัตราเร็วของวัตถุที่เคลื่อนที่แบบวงกลมที่กล่าวมาแล้วนั้นคือความยาวของเส้นโค้งที่วัตถุเคลื่อนที่ได้ในเวลา 1 วินาที ซึ่งเราอาจเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า อัตราเร็วเชิงเส้น (v)
              
    อัตราเร็วอีกประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นการบอกอัตราการเปลี่ยนแปลงของมุมที่จุดศูนย์กลาง เนื่องจากการ   กวาดไปของรัศมี ใน 1 วินาที เรียกว่า 
    อัตราเร็วเชิงมุม ( ) อ่านว่า โอเมก้า
    นิยามอัตราเชิงมุม () คือ มุมที่รัศมีกวาดไปได้ใน 1 วินาทีมีหน่วยเป็น เรเดียน/วินาที
  •         การบอกมุมนอกจากจะมีหน่วยเป็นองศาแล้ว ยังอาจใช้หน่วยเป็นเรเดียน (radian) โดยมีนิยามว่า มุม 1 เรเดียน มีค่าเท่ากับมุมที่จุดศุนย์กลางของวงกลม ซึ่งมีเส้นโค้งรองรับมุมยาวเท่ากับรัศมี หรือกล่าวได้ว่ามุมในหน่วยเรเดียน คือ อัตราส่วนระหว่างส่วนเส้นโค้งที่รองรับมุมกับรัศมีของวงกลม
              
    ถ้า คือ ความยาวองส่วนโค้งที่รองรับมุม
              r   
    คือ รัศมีของส่วนโค้ง
               
    คือ มุมที่จุดศูนย์กลางเป็นเรเดียน
  • เมื่อพิจารณาวงกลม พบว่ามุมรอบจุดศูนย์กลางของวงกลมเท่ากับ 360 องศา โดยส่วนโค้งที่รองรับมุมก็คือเส้น   รอบวงนั้นเอง
  • ดังนั้น สรุปได้ว่า มุม 360 องศา เทียบเท่ากับมุม 2p เรเดียน
    เมื่อพิจารณาวัตถุเคลื่อนที่แบบวงกลมด้วยอัตราเร็วคงที่ครบ 1 รอบพอดี
ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ระหว่างอัตราเร็วเชิงเส้น (v) และอัตราเร็วเชิงมุม ()

traffic_ussign19.gif

SHM
           การเคลื่อนที่แบบซิมเปิลฮาร์โมนิค หรือที่เรียกว่าการเคลื่อนที่แบบ S.H.M เป็นลักษณะการเคลื่อนที่แบบกลับไปกลับมา  เช่นการสั่นของสปริง การแกว่งของชิงช้า   หรือลูกตุ้มนาฬิกา เป็นต้น การยืดหรือหดสปริง จะต้องมีแรงภายนอกไปกระทำต่อสปริงทำให้เกิดงานขึ้น ทั้งนี้เพราะในการยืดหรือ  หดของสปริงนั้น พลังงานศักย์ ของสปริงจะเพิ่มขึ้น จากนิยามของพลังงานศักย์ที่ว่า "พลังงานศักย์ของวัตถุ ณ จุดใด คืองานที่ใช้ในการเคลื่อนที่วัตถุจากจุดอ้างอิงไปยังจุดนั้น" ถ้า F เป็นแรงที่กระทำต่อสปริงแล้วทำให้สปริงยืด        (หรือหด) เป็นระยะทาง x จากตำแหน่งสมดุล จะได้ว่า
งานที่ทำต่อสปริง = Fx
    ถ้าให้ตำแหน่งสมดุลเป็นตำแหน่งอ้างอิง จะได้ว่า
พลังงานศักย์ของสปริงที่ตำแหน่ง x ใด ๆ = Fx
แต่ในการยืดหรือหดของสปริงนี้ แรงที่กระทำต่อสปริงจะไม่คงที่ โดยจะขึ้นกับระยะทาง ดังนั้นแรง F จึงเป็นแรงเฉลี่ย โดยจะเฉลี่ยระหว่างแรงที่กระทำต่อสปริงที่ตำแหน่ง x = 0 และที่ x ใดๆ
 F=  

 ดังนั้น พลังงานศักย์ของสปริงที่ตำแหน่ง x
ใด ๆ  E  =

เนื่องจาก แรงที่สปริงกระทำต่อวัตถุเป็นแรงอนุรักษ์ ดังนั้นพลังงานทั้งหมด (total energy)
ของวัตถุที่เคลื่อนที่ภายใต้ อิทธิพลของแรงสปริงจึงคงที่ ถ้า E เป็นค่าพลังงานทั้งหมดนี้ จะได้ว่า ที่ตำแหน่ง x ใด ๆ ซึ่งวัตถุมีความเร็วเป็น v ใด ๆ จะได้ว่า
E =

 
  

ถ้าผลงานที่ค้นคว้าตรงกัน  เรียบร้อย....พร้อม .......Goahead......จะพบกับแหล่งความรู้เพิ่มเติม (resourse)

ที่มา http://www.un.ac.th/html/Site4/presentation/presentation5.html

 


ตอบข้อ2
อธิบาย
ความถี่ (อังกฤษ: frequency) คือปริมาณที่บ่งบอกจำนวนครั้งที่เหตุการณ์เกิดขึ้นในเวลาหนึ่ง การวัดความถี่สามารถทำได้โดยกำหนดช่วงเวลาคงที่ค่าหนึ่ง นับจำนวนครั้งที่เหตุการณ์เกิดขึ้น นำจำนวนครั้งหารด้วยระยะเวลา และ คาบ เป็นส่วนกลับของความถี่ หมายถึงเวลาที่ใช้ไปในการเคลื่อนที่ครบหนึ่งรอบ
ในระบบหน่วย SI หน่วยวัดความถี่คือเฮิรตซ์ (hertz) ซึ่งมาจากชื่อของนักฟิสิกส์ชาวเยอรมันชื่อ Heinrich Rudolf Hertz เหตุการณ์ที่มีความถี่หนึ่งเฮิรตซ์หมายถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหนึ่งครั้งทุกหนึ่งวินาที หน่วยอื่นๆ ที่นิยมใช้กับความถี่ได้แก่: รอบต่อวินาที หรือ รอบต่อนาที (rpm) (revolutions per minute) อัตราการเต้นของหัวใจใช้หน่วยวัดเป็นจำนวนครั้งต่อนาที
อีกหนึ่งวิธีที่ใช้วัดความถี่ของเหตุการณ์คือ การวัดระยะเวลาระหว่างการเกิดขึ้นแต่ละครั้ง (คาบ) ของเหตุการณ์นั้นๆ และคำนวณความถี่จากส่วนกลับของคาบเวลา:
f = \frac{1}{T}
เมื่อ T คือคาบ

ที่มา  http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%96%E0%B8%B5%E0%B9%88

 ...ตอบ 2 ปริมาณที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่แบบวงกลมด้วยอัตราเร็วคงที่ 1.คาบ (Period) "T" คือ เวลาที่วัตถุเคลื่อนที่ครบ 1 รอบ หน่วยเป็นวินาที่/รอบ หรือวินาที 2.ความถี่ (Frequency) "f" คือ จำนวนรอบที่วัตถุเคลื่อนที่ได้ภายในเวลา 1 วินาที หน่วยเป็นรอบ/วินาที หรือ เฮิรตซ์ (Hz) เมื่อวัตถุเคลื่อนที่แบบวงกลมด้วยอัตราเร็วคงที่ คาบ และความถี่จะมีค่าคงที่ โดยคาบและความถี่สัมพันธ์กันโดย ۞۞۞۞۞۞۞۞۞۞۞۞۞۞۞۞۞۞۞۞۞۞۞۞
 ตอบ 4 แต่ถ้าเป็นระยะทางทั้งหมดใน 1 หน่วยเวลา เรียกว่าอัตราเร็วเฉลี่ย อัตราเร็วขณะหนึ่ง คือ อัตราเร็วในช่วยเวลาสั้น ๆ หรือ อัตราเร็วที่ปรากฏขณะนั้น ี่ อัตราเร็วคงที่ หมายถึง วัตถุที่เคลื่อนที่มีอัตราเร็วสม่ำเสมอตลอดการเคลื่อนที่ไม่ว่าจะวัดอัตรา เร็ว .................. ณ ตำแหน่งใดจะมีค่าเท่ากันตลอดการเคลื่อนที่ หรือบอกได้ว่า .................. อัตราเร็ว ขณะใด ๆ มีค่าเท่ากับ อัตราเร็วเฉลี่ย การคำนวณหาปริมาณต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับอัตราเร็ว 1. การหาอัตราเร็ว ..................1.1. เมื่อกำหนดระยะทางและเวลาในการเคลื่อนที่ .................................คำนวณหาอัตราเร็วโดยการใช้สูตร ...................1.2. เมื่อกำหนดข้อมูลเป็นกราฟ ระหว่าง การกระจัดกับเวลา ( s - t ) ..................คำนวณหาอัตราเร็วได้จากความชันของกราฟ (ถ้านักเรียนหาความชันไม่ได้.............ถาม.......ดูซิ) ........................โดย อัตราเร็ว = ความชัน (slope)
 ตอบ 3 สนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก (Electric and Magnetic Field: EMFs) จะหมายถึง เส้นสมมุติที่เขียนขึ้นเพื่อแสดงอาณาเขตและความเข้มของเส้นแรงที่เกิดขึ้น ระหว่างวัตถุที่มี ความแตกต่างของศักย์ไฟฟ้าหรือแรงดันไฟฟ้า (เรียกว่า สนามไฟฟ้า) และที่เกิดขึ้นโดยรอบ วัตถุที่มีกระแสไฟฟ้าไหล (เรียกว่า สนามแม่เหล็ก) ในกรณีกล่าวถึงทั้ง สนามไฟฟ้าและ สนามแม่เหล็กพร้อมกันมักจะเรียกรวมว่า สนามแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Field: EMF) หรือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
 .ตอบ 4 แรงแม่เหล็ก 16.9 แม่เหล็กและสนามแม่เหล็ก แม่เหล็ก (magnet) คือสารที่สามารถดูดหรือผลักกันเองได้และสามารถดูดสารแม่เหล็กได้ แบ่งตามลักษณะการเกิดได้ 2 ชนิดคือ 1. แม่เหล็กธรรมชาติ (natural magnet) พบตามธรรมชาติเมื่อประมาณ 600 ปีก่อนคริสต์ศตวรรษ โดยชาวกรีก ซึ่งปัจจุบันเรียกว่า magnetite หรือ lodestone (leadingstone) แปลว่า หินนำทาง เพราะชาวจีนนำมาใช้สำหรับชี้หาทิศเหนือและทิศใต้ในการเดินเรือ สินแร่ธรรมชาตินี้มีสมบัติดูดเหล็กและเป็นสารประกอบออกไซด์ของเหล็ก (Fe3O4) 2. แม่เหล็กประดิษฐ์ (artificial magnet) แบ่งเป็น 1) แม่เหล็กถาวร (permanet magnet) คือแม่เหล็กที่รักษาอำนาจแม่เหล็กไว้ได้นาน ปกติจะทำด้วยเหล็กกล้า แต่ที่มีความแรงมากนิยมทำด้วยโลหะผสม เช่น เหล็กกล้า alnico (Fe = 51 เปอร์เซ็นต์ Co = 24 เปอร์เซ็นต์ Ni = 14 เปอร์เซ็นต์ Al = 8 เปอร์เซ็นต์ Cu = 3 เปอร์เซ็นต์) เป็นโลหะผสมที่นำมาทำเป็นแม่เหล็กถาวรที่ดีที่สุด 2) แม่เหล็กชั่วคราว (temporary magnet) หรือแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งจะเป็นแม่เหล็กชั่วขณะที่มีกระแสไฟฟ้าผ่านขดลวดที่พันรอบแท่งเหล็กอ่อน เท่านั้น เช่น mumetal (Ni = 73 เปอร์เซ็นต์, Fe = 22 เปอร์เซ็นต์ Cu = 5 เปอร์เซ็นต์) เป็นต้น สารแม่เหล็ก (magnetic substance) คือสารที่เกิดแรงดูดหรือแรงผลักกับแท่งแม่เหล็กได้ มี 3 ชนิดคือ 1. สารที่เกิดแรงดูดอย่างแรงกับขั้วแม่เหล็ก เช่น เหล็ก นิกเกิล เรียกว่า ferromagnetic substance 2. สารที่เกิดแรงดูดอ่อนๆ กับขั้วแม่เหล็ก เช่น อะลูมิเนียม เรียกว่า paramagnetic substance 3. สารที่เกิดแรงผลักอ่อนๆ กับขั้วแม่เหล็ก เช่น ฟอสฟอรัส เรียกว่า diamagnetic substance ขั้วแม่เหล็ก (magnetic pole) คือบริเวณปลายของแท่งแม่เหล็ก บริเวณดังกล่าวจะมีอำนาจการดูดหรือผลักกันแรงที่สุด มีสมบัติดังนี้ 1. จะเกิดแรงดูดหรือแรงผลักกับสารแม่เหล็ก โดยจะมีความแรงมากที่สุดบริเวณขั้วแม่เหล็ก 2. ขั้วแม่เหล็กชนิดเดียวกันจะเกิดแรงผลักกัน ขั้วแม่เหล็กต่างชนิดกันจะเกิดแรงดูดกัน 3. ถ้าแขวนแท่งแม่เหล็กให้หมุนได้อิสระ แท่งแม่เหล็กจะวางตัวในแนวเหนือ-ใต้ โดยปลายที่ชี้ทิศเหนือภูมิศาสตร์ คือขั้วแม่เหล็กเหนือ (N) และปลายที่ชี้ทิศใต้ภูมิศาสตร์ คือขั้วแม่เหล็กใต้ (S)
 ตอบ 4 สนามไฟฟ้า (electric field) หมายถึง "บริเวณโดยรอบประจุไฟฟ้า ซึ่งประจุไฟฟ้า สามารถส่งอำนาจไปถึง" หรือ "บริเวณที่เมื่อนำประจุไฟฟ้าเข้าไปวางแล้วจะเกิดแรง กระทำบนประจุไฟฟ้านั้น" ตามจุดต่างๆ ในบริเวณสนามไฟฟ้า ย่อมมีความเข้มของ สนามไฟฟ้าต่างกัน จุดที่อยู่ใกล้ประจุไฟฟ้า จะมีความเข้มของสนามไฟฟ้าสูงกว่าจุดที่อยู่ ห่างไกลออกไป นอกจากนั้น ณ จุดต่างๆ ในบริเวณสนามไฟฟ้าย่อมจะปรากฏศักย์ไฟฟ้า มีค่าต่างๆ กันด้วย ซึ่งเป็นศักย์ไฟฟ้า ชนิดเดียวกันกับศักย์ไฟฟ้าอัน เกิดจากประจุไฟฟ้า ที่เป็นเจ้าของสนามไฟฟ้า จุดที่อยู่ใกล้ประจุไฟฟ้าจะมีศักย์สูงกว่าจุดที่อยู่ไกลออกไป
ตอบ 3 รังสีแกมมา(Gamma Ray) ใช้สัญลักษณ์ เกิดจากการที่นิวเคลียสที่อยู่ในสถานะกระตุ้นกลับสู่สถานะพื้นฐานโดยการปลด ปล่อยรังสีแกมมาออกมา รังสีแกมมา ก็คือโฟตอนของการแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเช่นเดียวกับรังสีเอ็กซ์ แต่มีความยาวคลื่นสั้นกว่าและมีอำนาจในการทะลุทะลวงสูงมากกว่ารังสีเอ็กซ์ ไม่มีประจุไฟฟ้าและมวล ไม่เบี่ยงเบนในสนามไฟฟ้าและสนามแม่ เหล็กและ เคลื่อนที่ด้วยความเร็วเท่าแสง

1 ความคิดเห็น: